นายก อบจ.นครสวรรค์ ประชุมคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่

3 พ.ย. 2566, 16:04 น.
322
นายก อบจ.นครสวรรค์ ประชุมคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่

นายก อบจ.นครสวรรค์  ประชุมคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่(กสพ.) การบริหารภารกิจถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 6 พรรษา นวมินทราชชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ให้แก่ อบจ.
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องประชุมบัวหลวง  องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่(กสพ.) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 5/2566 โดยมีนายสันติ จันทร์เผิบ เลขา กสพ. และ  คณะกรรมการฯ  และผู้แทนภาคประชาชน ร่วมการประชุมพิจารณาเพื่อให้การบริหารภารกิจถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  
โดยมีประเด็นสำคัญที่เสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่(กสพ.) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ทราบและพิจารณา ได้แก่ 
1.การรับภารกิจถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (รพ.สต) เพิ่มเติม ในปีงบประมาณ 2568 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 
2.เรื่องพิจารณาข้อตกลงการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อสนับสนุนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
โดยการจัดสรรค่าบริการทางการแพทย์ ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน ปี 2567 จังหวัดนครสวรรค์ (งบค่าเสื่อม'67) ซึ่ง สรุปมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการการจัดสรรงบค่าเสื่อม UC ปี 2567 จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่ สอน. และ รพ.สต.ถ่ายโอน ประจำ ปีงบประมาณ 2567 จังหวัดนครสวรรค์
1. การจัดสรรเงิน OP ให้เครือข่ายหน่วยบริการประจำทำความตกลงกับหน่วยบริการลูกข่ายทั้ง รพ.สต.ที่ถ่ายโอน และยังไม่ถ่ายโอน ในการกำหนดเกณฑ์การจัดสรร และยอดการจัดสรรหลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายและต้นทุนดำเนินงาน และการสนับสนุนค่าใช้จ่ายกลางของเครือข่าย ได้แก่
1.1 เงินเดือนข้าราชการที่หักค่าแรงไว้ก่อนจัดสรรลงหน่วยบริการ
1.2 ต้นทุนการตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่าง CUP ในจังหวัด (virtual Accounting ; VA)
1.3 การตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างจังหวัด
1.4 ต้นทุนค่ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา ทั้งส่วนการรักษาและส่งเสริมป้องกัน
1.5 วัสดุทางการแพทย์ทั่วไป วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งเครือข่าย
1.6 การจัดการขยะติดเชื้อ
โดยหน่วยบริการประจำ เป็นผู้จัดหาและสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา วัสดุการแพทย์ ทั่วไป วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การกำจัดขยะติดเชื้อ ให้กับ รพสต.ภายในเครื่อข่ายทั้งที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน
2. การจัดสรรเงิน PP&P Basic
เมื่อคำนวนอัตราจ่ายต่อประชากรแล้วหน่วยบริการปฐมภูมิได้รับไม่ควรต่ำกว่า 53 บาท / ปชก. ทั้งนี้หากเครือข่ายบริการใดมีข้อตกลงที่แตกต่างจากแนวทางที่มีมตินี้ ต้องได้รับความยินยอมทุกฝ่ายหากไม่สามารถตกลงกันได้ให้ใช้อัตราอ้างอิงการจ่ายส่วนของ PP จากค่าเฉลี่ยของจังหวัดนครสวรรค์ในปี 2566 คือ อัตราจ่ายต่อประชากร 54.38 บาทต่อผู้มีสิทธิเพื่อใช้จัดหายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา วัสดุการแพทย์ บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ฯลฯ สำหรับใช้ในการให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ PP&P ให้หน่วยบริการทั้งเครือข่ายบริการสุขภาพ ทั้งนี้ให้หน่วยบิการประจำและหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายจัดทำบัญชีรับ-จ่าย ยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา วัสดุการแพทย์ทั่วไป วัสดุวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ที่มีระหว่างกัน โดยจัดทำบัญชีให้สามารถยกรายการส่วนที่ใช้รักษาพยาบาลกับส่วนที่ใช้สำหรับส่งเสริมป้องกัน เพื่อใช้วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำแผนต่อไป
3. การจัดสรรเงินงบค่าเสื่อม ปี 67
มติที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณในส่วนงบค่าเสื่อมปี 2567 ดังนี้
3.1 รับทราบมติเขตสุขภาพที่ 3 ที่อนุมัติการจัดสัดส่วนงบค่าเสื่อมในเขตสุขภาพที่ 3 เปลี่ยนแปลงจากปี 2566 คือ ระดับเครือข่ายบริการ:ระดับจังหวัด : ระดับเขต = 50%+20% : 20% : 10% (+20%)
3.2 คำนวนสัดส่วนเงิน ร้อยละ 10 ในงบค่าเสื่อมระดับเขตสุขภาพปี 2567 (งบ10% ระดับเขต) ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 3 เพื่อจัดสรรให้หน่วยบริการปฐมภูมิที่ถ่ายโอนภายในจังหวัดตามสัดส่วนประชากร 
3.3 การจัดสรรงบค่าเสื่อมในระดับเครือข่ายบริการ และระดับจังหวัด ให้ยึดหลักการจัดสรรตามภาระหน้าที่ของหน่วยบริการในเครือข่ายเป็นสำคัญ คือ หน่วยบริการปฐมภูมิมีหน้าที่ส่งเสริมป้องกันเป็นหลัก โรงพยาบาลมีหน้าที่ตรวจรักษาเป็นหลักใช้สัดส่วนการให้บริการหลักในการแบ่งสัดส่วน 
4. รายการบริการอื่นๆ ที่จ่ายตามกิจกรรมบริการที่กำหนด เช่น PP free schedule,palliative care แพทย์แผนไทย ฯลฯ ให้ดำเนินการตามข้อตกลงและแนวทาง/หลักเกณฑ์ ที่สปสช.กำหนด โดยพิจารณาสัดส่วนตามศักยภาพและความสามารถในการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่าย

ภาพ/ข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ICTC #NakhonsawanPAO #NSNPAO
#อบจนครสวรรค์ #องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์