นายก อบจ.นว พบปะกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.ไพศาลี

6 ต.ค. 2566, 15:19 น.
314
นายก อบจ.นว พบปะกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.ไพศาลี

นายก อบจ.นครสวรรค์ พบปะกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อำเภอไพศาลี มอบนโยบายการทำงาน ต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลาง   ลงพื้นที่สำรวจคลอง ชาวบ้านเดือดร้อนน้ำล้นท่วมทุกปี    
             วันที่ 3 ตุลาคม 2566 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์  ร่วมการประชุม และมอบนโยบายการทำงานให้กับหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ และกำนัน -  ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอไพศาลี ว่าต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลาง ช่วยกันทำงานให้ประชาชน และได้กล่าวถึงโครงสร้างของ อบจ.ที่มีอยู่ 36 เขต และ ส.อบจ.ทั้งหมด 36 คน นอกจากนี้ยังมี รพ.สต.ที่เข้ามาอยู่ในสังกัดของ อบจ.นครสวรรค์  ให้เข้าใจการทำงานในภาพรวมร่วมกัน  ซึ่งหากพบปัญหาความเดือดร้อน สามารถแจ้งที่ ส.อบจ.ได้ทันที เพื่อประสานขอความช่วยเหลือมายัง อบจ.นครสวรรค์   พร้อมฝากกับท้องที่ ท้องถิ่น ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ 
    - ขอให้ทำการสำรวจหมู่บ้านใดที่ยังมีปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค-บริโภค ไม่เพียงพอ เพื่อประสานมายัง อบจ.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ  และสำหรับที่หัวไร่ ปลายนา ที่ต้องการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ขอให้แจ้งความประสงค์ ซึ่ง อบจ.จะได้ประสานกับกรมทรัพยากรน้ำฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน  ในรายละเอียด รวมถึงการสำรวจต่อไป    
     -  ขอให้ทำการสำรวจกลุ่มผู้ที่อยู่ภาวะพึ่งพิง ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส เพื่อที่กองทุนฟื้นฟูฯ อบจ.นครสวรรค์ จะได้ให้การสนับสนุน การปรับสภาพบ้าน  และมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง 
                ซึ่งการประชุมกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อำเภอไพศาลี  เพื่อชี้แจงข้อราชการและนโยบายต่างๆ โดยมีนายฉัตรชัย วงศ์ปริยากร นายอำเภอไพศาลี นายถิรวุฒิ ฤทธิ์ฉ่ำ ส.อบจ.เขต1 อำเภอไพศาลี หัวหน้าส่วนราชการ และกำนัน – ผู้ใหญ่บ้านอำเภอไพศาลี เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน  ณ หอประชุมอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์  
            จากนั้น   นายก อบจ.นครสวรรค์ ได้นำคณะลงพื้นที่ไปสำรวจจุดที่นายเฉลิมชัย แย้มพลอย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 บ้านหนองตะโก ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี ได้เสนอในที่ประชุม ว่าในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนทุกปีจากปัญหาน้ำเอ่อล้นคลองเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร  เป็นคลองที่รับน้ำมาจากพื้นที่ อ.หนองม่วง  จ.ลพบุรี จากการสำรวจพบปัญหากระแสน้ำไม่ไหลไปตามลำคลอง  ต้องทำสะพานน้ำลอด  เนื่องจากเดิมมีท่อบล็อกเหลี่ยมเพียง 2 ช่อง ทำให้น้ำไหลไม่สะดวกหลุดเส้นทาง ไหลแตกแขนง ล้นข้ามถนนท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร   และหากมีการทำฝายกั้นน้ำเพิ่ม ก็จะเป็นการบังคับน้ำให้ไหลไปตามเส้นลำคลองหลักด้วยอีกทางหนึ่ง      

ภาพ/ข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICTC
#ICTC #NakhonsawanPAO #NSNPAO #อบจนครสวรรค์ #องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ #SDGSummit #17SDGsแค่นี้เราทำได้ #76จังหวัด76คำมั่นสัญญา