นายก อบจ.แถลง ผลงานเด่น เกือบ 2 ปี

21 ก.ย. 2565, 11:19 น.
246
นายก อบจ.แถลง ผลงานเด่น เกือบ 2 ปี

นายก อบจ.แถลงผลการปฏิบัติงานเกือบ 2 ปี  ผลงานเด่น ลอกคลองแล้วกว่า 1,600 กม.  การพัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช.  
         เมื่อเวลา 12.00 น.  วันที่ 19 กันยายน 2565  พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 
ได้แถลงผลงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 18 เดือน   
เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม  เพื่อพี่น้องชาวจังหวัดนครสวรรค์ ต่อสื่อมวลชนทุกแขนง  ณ สวนอาหารบ้านอีสาน อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์  

โดยมีผลการปฏิบัติงาน ที่เป็นผลงานสำคัญ ได้แก่      
1.ด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์   
1.1. การขุดเจาะ เป่าล้าง บ่อบาดาล และจัดส่ง สนับสนุนน้ำในการอุปโภค-บริโภค  
- ปีงบประมาณ 2564  เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 54 บ่อ  เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล จำนวน 265บ่อ   
สนับสนุนน้ำในการอุปโภค-บริโภค  9.204 ล้านลิตร 
-ปีงบประมาณ 2565  เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 39 บ่อ  เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล จำนวน 237 บ่อ   
สนับสนุนน้ำในการอุปโภค-บริโภค  4.416 ล้านลิตร   
* รวมทั้งหมด  เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 93 บ่อ  เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล จำนวน 502 บ่อ  สนับสนุนน้ำในการอุปโภค-บริโภค  13.620 ล้านลิตร  

1.2.การขุดลอกคลอง กำจัดผักตบชวาและวัชพืช โครงการคลองสวยน้ำใส โดยเครื่องจักรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์   
- ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 27 ครั้ง  ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้ 196 กม. จำนวน 245,930 ตัน   
- ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 23 ครั้ง  ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้ 167 กม. จำนวน 105,378 ตัน    
*รวมทั้งหมด  50 ครั้ง  ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้  363 กม. จำนวน  351,308 ตัน    

1.3.ผลการปฏิบัติงานขุดลอกคลอง โดยเครื่องจักรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 
- ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 88  ครั้ง  ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้ 513.9 กม.     
- ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 123 ครั้ง ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้ 758.1 กม.   
* รวมทั้งหมด 211 ครั้ง ความยาวลำคลองที่ขุดลอกได้ 1,272 กม.      
*รวมระยะทางที่ขุดลอกได้ทั้งหมด จาก”โครงการคลองสวยน้ำใส” และ”งานลอกคลองโดยใช้เครื่องจักรของ อบจ.” เป็นระยะทางทั้งหมด 1,635 กม.  

2.ด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ  
 2.1.ผลการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น   
- ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 58โครงการ ประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 35 เส้นทาง  แอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 17 เส้นทาง ความยาว 67.653 กม.  
- ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 51 โครงการ  ประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 32 เส้นทาง  แอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 15  เส้นทาง ความยาว 55.6862 กม.  
*รวม 109 โครงการ ประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 67  เส้นทาง   
ประเภทแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 32 เส้นทาง  ความยาว 123.52 กม.   
  2.2. ผลการซ่อมแซมพื้นผิวการจราจร ลาดยางและทางหลวงท้องถิ่น 
- ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 84 โครงการ ปริมาณพื้นผิวที่ซ่อมแซมได้   60,270 ตรม.  
- ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 77โครงการ ปริมาณพื้นผิวที่ซ่อมแซมได้   68,140 ตรม.  
*รวมทั้งหมด 161 โครงการปริมาณพื้นผิวที่ซ่อมแซมได้  128,410 ตรม.  
 2.3ผลการปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล (ประเภทเครื่องจักรกลที่สนับสนุน รถเกรด,รถบด,รถน้ำ) 
- ปีงบประมาณ 2564 จำนวน ครั้ง ความยาวถนนที่เกรดบดอัดได้   2,190 กม.  
- ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 39 ครั้ง  ความยาวถนนที่เกรดบดอัดได้  3,047.5 กม.   
*รวมทั้งหมด 75  ครั้ง ความยาวถนนที่เกรดบดอัดได้  5,237.5 กม.  
           ผลการปฏิบัติงานในรอบกว่า 1 ปี องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  ได้วางนโยบายและเป้าหมายโครงการต่างๆ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานความเจริญเติบโตของท้องถิ่น  มีการดำเนินการที่หลากหลายเพื่อให้เกิดประ โยชน์ และครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง  นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ อีกมายมายที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน  สร้างความเชื่อมั่น และรอยยิ้มแก่ประชาชนชาวนครสวรรค์  และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  จะเดินหน้าร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อเร่งรัด พัฒนา โครงการ แผนงานที่จะพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง 
         โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้ง-ฤดูน้ำหลาก  จะไม่เหมือนกัน  ฤดูแล้งจำเป็นต้องกักเก็บน้ำไว้ใช้  จึงจำเป็นต้องทำฝายชะลอน้ำ ประตูน้ำ ซึ่งหากเป็นประตูน้ำขนาดใหญ่ อบจ.ไม่สามารถทำได้ เพราะเราไม่มีผู้เชี่ยวชาญ  จากบทเรียนปีที่ผ่านมา เขื่อนเจ้าพระยาปิดการระบายน้ำ  และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เปิดระบาย จึงทำให้น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในปีนี้ทาง อบจ.จึงเร่งขุดลอกคลอง ที่มีความตื้นเขินให้สามารถระบายน้ำได้ ซึ่งขณะนี้ อบจ.ดำเนินแก้ไขปัญหาได้ 60-70% จากพื้นที่น้ำท่วมหลากในปีที่ผ่านมา และปั้นคันดินไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้พอสมควร  สำหรับภัยแล้ง อบจ.ยังแก้ไขได้ไม่มากพอ  ทั้งการทำฝาย แก้มลิง และประตูน้ำ   จำเป็นต้องอาศัยหลายหน่วยงาน ในการร่วมมือบริหารจัดการ    

ภาพ/ข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICTC 
#ICTC #NakhonsawanPAO #NSNPAO #อบจ.นครสวรรค์ 
#องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์