นายก อบจ.ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าแม่เล่ย์

24 มี.ค. 2565, 11:26 น.
303
นายก อบจ.ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าแม่เล่ย์

นายก อบจ.นครสวรรค์ ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าบ้าน​คลอง​แบ่ง บ้านบุ่งผักหนาม ตำบลแม่เล่ย์ อำเภอแม่วงก์​ 

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 มีนาคม 2565 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัด​นครสวรรค์​ พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์​ บัวขาว สมาชิกสภา อบจ.นครสวรรค์ เขต 1 อ.แม่วงก์, นางสาวชุติมา​ เสรีรัฐ สมาชิกสภา อบจ.นครสวรรค์ เขต 2 อ.ลาดยาว ผู้นำชุมชน และหน่วยงาน​ที่​เกี่ยวข้อง​ ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มทอผ้า ต แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์​ จ.นครสวรรค์

จุดที่ 1 กลุ่มทอผ้าบ้าน​คลอง​แบ่ง ที่บ้านเลขที่ 95 ม.4 บ้าน​คลอง​แบ่ง ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์​ จ.นครสวรรค์ โดยนายสุทิน และนางสาย พรมแก้ว ศึกษา​การทอผ้าจากญาติ ใน จ.กำแพงเพชร​ ก่อนย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ บ้านคลองแบ่ง ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์​ จ.นครสวรรค์ เมื่อปี 2559 และทำการทอผ้าเป็นอาชีพเสริม ประกอบกับบ้านคลองแบ่ง ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้าน​เศรษฐกิจพอเพียง​ จึงได้รับการสนับสนุนจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าขึ้น​ และสอนให้กับชาวบ้าน และผู้ที่สนใจ ปัจจุบัน​มีสมาชิกกลุ่มประมา​ณ 10 คน มีกี่ 2 กี่ มีผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ ผ้าขาวม้า พรมเช็ดเท้า​ เครื่องจักร​สาน เครื่องใช้ในครัวเรือน กี่ 2 กี่ แบ่งเป็นทอผ้าขาวม้า 1 กี่ และทอผ้า 1 กี่ ใน 1สัปดาห์ สามารถ​ทอผ้าได้ประมาณ 2 ผืน ขายในราคาผืนละ 400 บาท ผ้าขาวม้า ผืนละ 150 บาท และพรมเช็ดเท้า​ ผืนละ 20 บาท พรมเช็ดเท้า​ ลายมาตรฐานขนาดใหญ่​ ผืนละ 35 บาท 3ผืน100บาท โดยเน้นทำเป็น​อาชีพเสริม เนื่องจาก​ชาวบ้าน​ส่วนใหญ่​ประกอบอาชีพ​เกษตรกรรม​ ปลูกมันสำปะหลัง​ 

จุดที่ 2 กลุ่มทอผ้าบ้านบุ่งผักหนาม ม.25 บ้านบุ่งผักหนาม ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์​ จ.นครสวรรค์​ จัดตั้งกลุ่มขึ้น​ เมื่อปี 2543 มีนางวิลัย จูแจ่ม เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบัน​มีสมาชิก ประมาณ​20คน ทำเป็น​อาชีพเสริม ทอผ้าตามออเดอร์​ที่ได้รับ โดยแบ่งกระจายงานให้กับสมาชิกทำอยู่ที่บ้าน ซึ่ง​มีกี่ประจำทุกบ้าน และนำผลิตภัณฑ์​มาส่งให้กับทางกลุ่ม มีผลิตภัณฑ์​ ประกอบด้วย​ ผ้ามัดย้อม ผ้าพันคอ ผ้าตัดเสื้อ(ผ้าลาย)​ ผ้าถุง ผ้าขาวม้า และผ้าลายยกขิต ซึ่ง​ก่อนหน้ามีการนำผลิตภัณฑ์​ ไปจำหน่ายที่เมืองทอง​ธานี​ แต่เนื่องจาก​ชาวบ้าน​ส่วนใหญ่​ทำอาชีพ​เกษตรกรรม​ จึงทำให้ไม่มีเวลา และไม่สะดวกในการนำไปจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง 

ปัจจุบัน​มีออเดอร์ ​ทอผ้าลายขอพระราชทานจากหน่วยงาน​ราชการ​ แต่ยังไม่สามารถ​ทำได้ทัน เนื่องจาก​เป็นลายพระราชทาน​ มีความปราณี​ต และมีคนมัดลายได้เพียง 4-5คน ทางกลุ่มมีเงินทุนเวียน จากกลุ่มแม่บ้าน มีการจัดซื้อวัตถุดิบไว้ให้กับสมาชิก 

พลตำรวจเอก​สมศักดิ์​ จัน​ทะ​พิงค์ ​นายก​ อบจ.นครสวรรค์​ กล่าวว่า จากการลงพื้น​ที่​เก็บข้อมูล ปัญหาที่พบของทั้ง2 กลุ่มวันนี้ รวมถึง​ทุกกลุ่มที่ได้มีการลงพื้น​ที่​มาก่อนหน้านี้ ​คือ

1.เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อย เนื่องจาก​รายได้น้อย ​ยังไม่เป็น​ที่​ดึงดูดใจ​ 

2.วัตถุดิบมีต้นทุนสูง และทางกลุ่ม​ทอผ้าไม่มีเงินทุน​หมุนเวียน​ 

3.ต้องมีการพัฒนา​ฝีมือ เรื่องของลายผ้า การมัด และลายเฉพาะ 

4.เรื่องตลาด การกำหนดราคาของผ้าทอ ยังมีราคาที่ถูก ทำให้กลุ่มมีรายได้น้อย

ซึ่งหลังจากมีการลง​พื้นที่​เก็บข้อมูล​ครบแล้ว จะมีการประชุมสรุปสภาพปัญหา​ และความต้องการ​ ของกลุ่มทอผ้าต่างๆ จัดฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ หาเครื่องมือ​อุปกรณ์​ใหม่ ให้ผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ในด้านผ้า มาช่วยในการกำหนดราคาให้ใหม่ หากทำได้มาตรฐาน​ กำหนดราคาเป็น เพิ่มกำลังการผลิตได้ ก็จะทำให้มีรายได้​ดีขึ้น อาจทำให้เด็ก​รุ่นใหม่​ที่เดินทาง​ไปประกอบอาชีพที่อื่น กลับมายังบ้านเกิด ช่วยสืบสาน และพัฒนาฝีมือกลุ่มทอผ้าได้ต่อไป

 

   

ข้อมูล/ภาพ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICTC

#ICTC #ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

#NakhonsawanPAO #NSNPAO

#อบจนครสวรรค์ #องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์