บริหารจัดการความเสี่ยง

28 ธ.ค. 2564, 12:29 น.
295
บริหารจัดการความเสี่ยง

ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานบริหารจัดการความเสี่ยงองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 1/2564 

เมื่อเวลา 10:00 น วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ หอประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกอบจ.นครสวรรค์ เป็นประธานในการประชุมประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานบริหารจัดการความเสี่ยงองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายมานพ บุญผสม นายเชิดพันธุ์ มาศรี นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายกอบจ.นครสวรรค์ นายไกรสิน ศิลปาจารย์ ปลัด อบจ. และคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง 

โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ขึ้นเพื่อคาดการณ์เหตุการณ์และปัจจัยที่อาจเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายให้แก่หน่วยงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงนั้นต่อไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อลดโอกาสและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบให้ไม่บรรลุวัตถุ 

ประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

พร้อมกันนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กรได้ถือปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเกิดเป็นวัฒนธรรมในการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร อันจะส่งผลให้การบริหารจัดการความเสี่ยงถูกปลูกฝังอยู่ในองค์กรอย่างยั่งยืน โดยนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ให้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ตามแนวทาง COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการความเสี่ยงแบบทั้งองค์กร

2. ให้มีการติดตามปัจจัยที่เป็นเหตุแห่งความเสี่ยง ทบทวน รวมทั้งจัดทำรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

3. ให้มีการเผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้ตระหนักถึงความรู้รับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

โดยพิจารณาจากกิจกรรมขอแผนงาน/โครงกาที่ดำเนินการ นำมาวิเคราะห์จากสถานการณ์ในอนาคตที่อาจส่งผลให้กิจกรรมนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้ หรือสถานการณ์ในอนาคตที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งระบุประเภทของปัจจัยเสี่ยง 4 ประเภท ได้แก่

1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)

2) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk)

3) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)

4) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk)

ในการนี้ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ ได้กล่าวว่า “ ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่พึ่งต้องตระหนัก เพื่อในการพัฒนาระบบ ซึ่งความเสี่ยงเริ่มจากความคิด โดยมีการกำกับดูแล เพื่อช่วยกันคิดในการลดความเสี่ยง และจัดทำแผน คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก โดยการทำงานต้องรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ นำจุดอ่อนมาแก้ไขและพัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์และไม่เสี่ยงต่อการผิดระเบียบแบบแผน”

 

ข้อมูล/ภาพ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICTC

#ICTC #ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

#NakhonsawanPAO #NSNPAO

#อบจนครสวรรค์ #องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์