เตรียมผลิตสื่อ อบรมโควิด

3 พ.ย. 2564, 13:52 น.
164
เตรียมผลิตสื่อ อบรมโควิด

เตรียมผลิตสื่อ อบรมโควิด

อบจ.ร่วม สปสช. วางแผนทำการผลิตสื่อ จัดอบรมให้ความรู้ 5 โรคสำคัญ เน้นโควิด 19 ให้แก่ อปท. ประชาชน และสถานศึกษาทั่วไป

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วย นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายกอบจ.นครสวรรค์ นายไกรสิน ศิลปาจารย์ ปลัด อบจ. นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัด อบจ. นางสาวบุษกร สุรรังสรรค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดนครสวรรค์ (สปสช.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือการจัดอบรมให้ความรู้ทำความเข้าใจโรคโควิด-19 แก่ประชาชน ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์

สืบเนื่องจากการประกาศเปิดพรมแดน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะมีคลัสเตอร์ใหม่หลังจากเปิดประเทศ โดยพลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ แสดงความเห็นว่า สำหรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระลอก 2 ที่ผ่านมาไม่น่ากังวล เพราะได้มีการวางแผนการจัดตั้งศูนย์พักคอยตามตำบล และอำเภอ ร่วมถึงการมีโรงพยาบาลสนามในแต่ละอำเภอ เพื่อให้การดูแล รักษาแก่ประชาชนอย่างพอเพียง 

นายก อบจ.กล่าวอีกว่า "สำหรับทางอบจ.ยังคงให้ใช้สถานที่ อาคารบริการที่พักนักเที่ยวบึงบอระเพ็ด เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 และการกักตัวผู้ป่วย หากมีความจำเป็นต้องใช้ ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 และจำนวนผู้กลับบ้านลดน้อยลง เราจึงจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งหากรู้อาการเบื้องต้นไว จะทำให้การรักษาได้ไวด้วย เพราะถ้าประชาชนรู้ว่าติดเชื้อโควิด-19 และรีบเข้ารับการรักษาตามอาการได้ทัน ทั้งนี้เขืีอว่าเราทุกคนต้องอยู่กับโรคนี้ไปอีกนาน ซึ่งอย่างน้อยผู้นำต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรค"

นางสาวบุษกร กล่าวว่า "การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา 4 โรค ได้แก่ โรคเบาหวานและความดันสูง โรควัณโรค หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยในปฐมวัย เป็นตัวชี้วัด ที่พบปัญหาใน 4 โรคนี้ จึงต้องเพิ่มเติมด้วยการให้ความรู้ โดยมีกองทุนของท้องถิ่นในการขับเคลื่อน และจะเพิ่มโรคโควิด-19 เข้าไปด้วยเป็นโรคที่ 5 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ พร้อมทั้งนำกระบวนความรู้สู่ครัวเรือนให้ได้ ซึ่งการให้ความรู้นั้นจะต้องคำนึงถึงเป้าหมาย โดยเริ่มจากครัวเรือนก่อน และต่อด้วยสถานศึกษา โดยการเริ่มให้ความรู้จากผู้นำระดับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และอำเภอ จะจัดกระบวนการไปตามลำดับ โดยมีการกำกับดูแลจากจังหวัด เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานทับซ้อน ระหว่าง อบจ. เทศบาล และอบต."

นางสาวบุษกร กล่าวอีกว่า "สำหรับโครงการจัดอบรมดังกล่าวที่จังหวัดมอบหมายในส่วนของโรงเรียน จะทำการสำรวจว่าจะให้ความรู้ การอบรม โดยคำนึงถึงโรงเรียนที่อยู่นอกเขตเทศบาล และต้องไม่เกิดการทับซ้อนกับทางอบต. พร้อมทั้งต้องให้โรงเรียนได้รับความรู้เพื่อจะนำไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งเนื้อหาหลักสำคัญคือการทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่กับโรคโควิด-19ได้ หากคนใกล้ชิดเป็นผู้ติดเชื้อโควิด จำเป็นจะต้องทำการสืบสวนโรค และติดตามผู้เสี่ยงสูง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด"

"สำหรับในกรณีการจัดอบรมและการผลิตสื่อเพื่อให้ ประชาชนมีความรู้ และสามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งในครัวเรือนและสถานศึกษาหรือองค์กรต่างๆนั้น ทาง อบจ.นครสวรรค์ยินดีให้ความร่วมมือ แต่จะเป็นในส่วนที่ไม่ทับซ้อนกับทาง อบต. เทศบาลหรือหน่วยงานอื่นที่ทำอยู่ จะได้เป็นการกระจายความรู้ ให้ กว้างขวางออกไป เพื่อทุกคนจะได้รู้ เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคได้" พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ กล่าวในที่สุด

 

ข้อมูล/ภาพ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICTC

#ICTC #ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

#NakhonsawanPAO#NSNPAO

#อบจนครสวรรค์#องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์