1. การวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

จากผลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีผลคะแนน 96.87 คะแนน อยู่ในระดับ AA ดังนี้

โดยวิเคราะห์ผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัด ได้ดังนี้

ตัวชี้วัดของการประเมิน ITA ประเด็นที่ต้องแก้ไข/ปรับปรุง
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)
1. การปฏิบัติหน้าที่
97.68 คะแนน
IIT จากการวิเคราะห์ผลคะแนน พบว่า ควรมีการสร้างการรับรู้ให้กับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. การใช้งบประมาณ
96.39 คะแนน
3. การใช้อำนาจ
97.32 คะแนน
4. การใช้ทรัพย์สินของราชการ
96.55 คะแนน
5. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
97.26 คะแนน
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
6. คุณภารการดำเนินงาน
93.93 คะแนน
EIT จากการวิเคราะห์ผลคะแนน พบว่า คุณภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร รวมถึงการปรับปรุงการทำงาน ยังต้องปรับปรุง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการแผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนในทุกช่องทางอย่างทั่วถึงทุกคนทุกพื้นที่ รวมถึงปรับปรุงการทำงานให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. ประสิทธิภาพการสื่อสาร
92.92 คะแนน
8. การปรับปรุงการทำงาน
90.74 คะแนน
แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
9. การเปิดเผยข้อมูล
100.00 คะแนน
OIT จากการวิเคราะห์ผลคะแนน พบว่า การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ซึ่งผลการประเมินได้ดี แต่ควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการดำเนินงานตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส สามารถสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา สร้างความไว้วางใจแก่สาธารณชนได้มากยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
10. การป้องกันการทุจริต
100.00 คะแนน

2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐใน (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเพื่อยกระดับผลการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เห็นควรมอบหมายให้ส่วนราชการที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำข้อมูล/โครงการ/กิจกรรม/มาตรการ ดังนี้

มาตรการ/แนวทาง วิธีการดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ การติดตามผล
1. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานรอบไตรมาส 1. มีการประชุมติดตามงานและขั้นตอนการทำงานถึงไหนเป็นระยะ ๆ
2. การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
หัวหน้าฝ่ายแต่ละกองเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายงานความก้าวหน้าและสรุปผล ณ สิ้นปีงบประมาณ
2. ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ 1. เปิดโอกาสให้บุคลากรเข้าร่วมอบรม ศึกษาหาความรู้ จัดให้มีการอบรมพัฒนาบุคลากรภายในหน่วยงานและหน่วยงานภายนอก
2. ให้เจ้าหน้าที่ยึดหลักตามมาตรฐาน ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
1. กองการเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดอบรม
2. ให้หัวหน้าฝ่ายทุกกองกำชับเจ้าหน้าที่ให้ยึดหลักตามมาตรฐาน ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
3. การประชาสัมพันธ์ ภารกิจ โครงการ กิจกรรม เพื่อสร้างการรับรู้ทั้งบุคคลภายนอกและบุคคลภายในหน่วยงาน ตรวจสอบและปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณเป็นผู้ควบคุมระบบการสื่อสาร